Generation ที่ 4 (พ.ศ. 2526 - 2539) ของ มิตซูบิชิ แลนเซอร์

มิตซูบิชิ แลนเซอร์ โฉมที่ 4

โฉมนี้ เป็นโฉมที่ผลิตขึ้นในช่วงเวลาที่ซ้อนทับกับโฉมที่ 2 มีรูปทรงคล้ายกัน แต่มีความเป็นรถธรรมดามากขึ้น ใช้เครื่องยนต์หัวฉีดขับเคลื่อนล้อหน้าธรรมดา ไม่ใช้เครื่องยนต์ที่แปลกดังโฉมที่ 2 แต่ก็มีความทันสมัย เพราะระบบเครื่องยนต์หัวฉีด แทบไม่เป็นที่รู้จักในสมัยนั้น สมัยนั้นรถที่เป็นหัวฉีดส่วนใหญ่เป็นรถแข่ง รถสปอร์ตเต็มขั้น หรือรถหรูๆ จากตะวันตกเท่านั้น นอกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นระบบคาร์บูเรเตอร์ การนำระบบหัวฉีดมาใช้ในรถทั่วไปในสมัยนั้นจึงเป็นความทันสมัยอย่างหนึ่ง และระบบขับเคลื่อนล้อหน้า สมัยนั้นก็ไม่ค่อยมีเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบขับเคลื่อนล้อหลัง ทำให้มีการนำแลนเซอร์โฉมที่ 4 ไปปรับแต่งเป็นรถสปอร์ตกึ่งครอบครัวเป็นจำนวนมาก และในประเทศไทย โฉมนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ Champ เป็นการนำรุ่นล่างสุดมาใช้ชื่อ 3 รุ่น คือ แชมป์, แชมป์ทู และแชมป์ทรี

Champ

โดยผลิตระหว่างปี พ.ศ. 2528-2539 มีทั้งรุ่นซีดาน 4 ประตู แฮทช์แบค 3 ประตู และ สเตชันเวกอน 5 ประตู ในช่วงแรกที่เปิดตัวนั้น Lancer โฉมนี้ นับเป็นรถที่มีเครื่องยนต์และรูปแบบให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ 1,300 ซีซี , 1,500 ซีซี และรุ่นสูงสุดและเป็นตัวแรงในสมัยนั้นอีกคันก็คือ รุ่น 1,600 ซีซี ติดเทอร์โบ ใช้ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ โดยมิตซูบิชิตั้งชื่อทางการตลาดในแต่ละรุ่นว่า Lancer 1300, Lancer 1500 และ Lancer 1600 Turbo

Champ II

ในปี 2531 มีการปรับปรุงเล็กน้อย รุ่นเครื่อง 1,600 ซีซี Turbo ถูกตัดออกไป เหลือแค่เครื่อง 1,300 ซีซี ทำตลาดในชื่อ Champ II แล้วคาดสติกเกอร์ด้านข้างรถว่า New Generation Power ใช้เครื่องยนต์รหัส 4G13 4 สูบเรียง OHC 1,298 ซีซี ระบายความร้อนด้วยน้ำ อัตราส่วนกำลังอัด 9.8 : 1 มีแรงม้า 71 แรงม้า ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 11.0 กก.ม. ที่ 4,000 รอบ/นาที ช่วงปีหลังๆ มีรุ่น 3 ประตูท้ายตัดเครื่อง 1,500 ซีซี ออกมาขาย และรุ่น 1.5 กลับมาขายอีกครั้ง ใส่ล้อแม็กลายใหม่จาก Enkei เปลี่ยนชื่อจาก Lancer 1500 เป็น Lancer 1.5 หน้าปัดแบบดิจิตอล ในปี 2533 มีรุ่นเกียร์อัตโนมัติ 3 จังหวะ มีพวงมาลัยเพาเวอร์ให้ด้วย

Champ III

ในช่วงปลายอายุตลาด รุ่น 1,500 ซีซี ถูกปลดระวางไป รุ่น 1,300 ซีซี ยังอยู่ในชื่อ Champ III และ Catalytic Champ (ติดเครื่องกรองไอเสีย) ซึ่ง Mitsubishi เล็งเอาไว้จับตลาดล่างๆ ยิ่งกว่านั้นได้เคยมีการนำรุ่น 1,300 ซีซีไปขยายความจุเป็น 1,500 ซีซี เพื่อรองรับตลาดแท็กซี่มิเตอร์ และมีพรีเซนเตอร์หลายคน แตกต่างกันไปตามชนิดของตัวถัง ที่จะใช้พรีเซ็นเตอร์แตกต่างกันไป เช่น ลลิตา ปัญโญภาส หัทยา วงษ์กระจ่าง เป็นต้นและไม่มีการนำ Generation ที่ 5 มาทำตลาดในประเทศไทย เนื่องจาก Mitsubishi Motors ได้ลงทุนเครื่องจักรครั้งใหญ่ เพื่อหวังจะส่งออกไปขายยังแคนาดา ไซปรัส ฯลฯ เพื่อให้คุ้มทุน จึงไม่มีการนำรุ่นที่ 5 มาขายในประเทศไทย นอกจากนี้แล้ว แลนเชอร์โฉมนี้ยังช่วยให้มิตซูบิชิ ทำรถส่งออกไปขายแคนาดา และอิสราเอล ไซปรัส เป็นรายแรกของประเทศไทย (แม้จะมีกระแสข่าวลือว่ามีการตีกลับก็ตาม)

  • รุ่นนี้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2528-2539
  • รุ่นนี้เริ่มมีคนเอาไปทำเป็นแท็กซี่แล้ว

ใกล้เคียง